วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553















ปลากระทิงไฟ 

ชื่อสามัญ : Fire Spiny Eel 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : 
Mastacembelus erythrotaenia 


ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดที่อยู่สกุลเดียวกับปลากระทิงดำ รูปร่างคล้ายปลาไหล มีขนาดความยาวประมาณ 20 - 70 เซนติเมตร ลำตัวเรียวยาว และแบนข้าง มีจะงอยปากเป็นติ่งเล็กยื่นออกมาทำหน้าที่รับความรู้สึก พื้นลำตัวสีน้ำตาลเข้ม ข้างลำตัวมีเส้นหรือจุดสีแดงขนาดใหญ่และเล็กเรียงตามความยาวลำตัวบริเวณนัยน์ตาจนถึงโคนครีบหาง ครีบหางและครีบก้นเชื่อมติดกันถึงครีบหลังตอนท้าย ครีบทั้งหมดมีสีแดงสด บริเวณขอบครีบหนังเป็นกระดูกแหลมแข็งสำหรับป้องกันตัวจากศัตรู ครีบหูมีสีดำขอบแดง ลักษณะทางอนุกรมวิธานที่แตกต่างจากปลากระทิงชนิดอื่นคือ ปลากระทิงไฟไม่มีกระดูกที่เป็นหนามแหลมอยู่บริเวณหน้า นัยน์ตา ปลากระทิงไฟที่พบในภาคกลาง จะมีสีแดงสดใสกว่าแหล่งน้ำอื่น 


ถิ่นอาศัย
ประเทศไทย มีอยู่ในบริเวณน้ำจึดและน้ำกร่อย ในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีน ทางภาคใต้ที่ทะเลน้อย (ทะเลสาบสงขลาตอนใน) แม่น้ำตาปี ชาวใต้เรียกชื่อปลานี้ว่าปลากระทิงลายดอกไม้ 


อาหาร
แมลง ลูกกุ้ง ลูกกบ และปลาขนาดเล็ก 











ปลากระแหทอง (ปลากระแห หรือ ปลาตะเพียนหางแดง) 

ชื่อสามัญ : Schwanenfeld's Tinfoil Barb ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barbodes schwanenfeldi 


ลักษณะทั่วไป

เป็นปลาน้ำจืดที่มีรูปร่างป้อมสั้น ลำตัวแบนข้าง หัวเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ นัตย์ตาเล็ก ปากเล็กและอยู่ปลายสุด หนวดเล็กและสั้นมี 2 คู่ เกล็ดมีขนาดใหญ่ ครีบกระโดงหลังสูง และกว้างมีสีแดง ลำตัวเป็นสีขาวเงินและสีเหลืองปนส้ม ด้านหลังสีเทาปนเขียว แก้มสีเหลืองปนแดง ขนาดของลำตัวความยาว 15 - 35 เซนติเมตร 

นิสัย
รักสงบ อยู่รวมกันเป็นฝูง ปราดเปรียว ว่องไว ไม่อยู่นิ่งชอบว่ายน้ำตลอดเวลา 


ถิ่นอาศัย

พบทุกภาคในประเทศไทย ทำให้มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป 

อาหาร

พืชพันธุ์ไม้น้ำ ตัวอ่อนแมลงน้ำ ซากสัตว์และพืชที่เน่าเปื่อย




ปลากระโห้ 

ชื่อสามัญ : Siamese Giant Carp ชื่อวิทยาศาสตร์ : Catlocarpio siamensis


ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดชนิดมีเกล็ดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง เป็นปลาน้ำจืดจำพวก ปลาตะเพียน ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ลำตัวค่อนข้างป้อมแบนข้าง พื้นลำตัวสีเทาแซมชมพู สันหลังเป็นสีน้ำตาลอมดำ ด้านข้างและส่วนท้องมีสีจางกว่า ลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้คือ มีหัวยาวและใหญ่ผิดปกติ หัวมีผิวเรียบมัน ไม่มีเกล็ดคลุม ความยาวของหัวประมาณ 1ใน3 ของลำตัว ตาโตและยื่นโปน ริมฝีปากล่างหนาและยื่นออกมาพ้นริมฝีปากด้านบน ปากกว้างขากรรไกรยาวถึงบริเวณตา มีฟันที่คอหอยเป็นแถวอยู่ข้างละแถว ไม่มีหนวด เกล็ดมีขนาดใหญ่ขอบเรียบ ครีบหลังสูงและอยู่ตรงกับครีบท้อง ครีบก้นค่อนข้างยาว ครีบหางเป็นแถบเว้าลึก ครีบทุกอันมีสีแดงปนส้ม ปลาตัวผู้มีลำตัวเล็กและเรียว ส่วนท้องแบบเรียบสีดำคล้ำกว่าตัวเมีย 


นิสัย
มีนิสัยรักสงบ ตื่นตกใจง่าย ชอบอยู่รวมเป็นฝูงในแหล่งน้ำลึก แข็งแรงและอดทน 


ถิ่นอาศัย
ประเทศไทย เคยมีอยู่ชุกชุมในลุ่มแม่นํ้า แม่กลอง เจ้าพระยาจนถึงบอระเพ็ดในปัจจุบันมีปริมาณน้อยลงมาก แต่ก็ยังมีปรากฏให้พบเห็นอยู่บ้างในลำนํ้าโขง ชาวบ้านแถบนั้นเรียกว่า ปลากะมัน หรือ หัวมัน 


อาหาร
แพลงก์ตอน พืชนํ้า 





ลากระสูบขีด 

ชื่อสามัญ : Transverse-bar Barb ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hampala macrolepidota 


ลักษณะทั่วไป
อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน ลำตัวค่อนข้างยาว ด้านข้างแบนท้องกลมมน จะงอยปากแหลมปากกว้างและเอียงขึ้นเล็กน้อย มีหนวดที่มุมปาก 1 คู่ ครีบหลังอยู่ตรงข้ามกับครีบท้อง เกล็ดใหญ่ สีของตัวจะเป็นสีขาวเงิน มีลายดำพาดขวางลำตัว หางสีแดงสด ครีบสีแดงหรือสีส้ม มีขนาด 20-50 เซนติเมตร 


นิสัย
ว่องไวปราดเปรียวและตื่นตกใจง่าย โดยทั่วไปมีนิสัยก้าวร้าวไม่เหมาะที่จะนำมาเลี้ยงรวมกับชนิดอื่นเพราะแม้แต่พวกเดียวกันเอง ถ้ามีขนาดแตกต่างกัน หากนำมาเลี้ยงรวมกันจะกัดกันเอง
ถิ่นอาศัย
พบในแม่น้ำ ลำคลองทั่วไปทุกภาคของไทย 


อาหาร
ลูกปลาขนาดเล็กเป็นอาหาร 


การสืบพันธุ์
ไม่ปรากฏในรายงาน 










ปลาก้าง 
ชื่อสามัญ : Red-tailed Snakehead ชื่อวิทยาศาสตร์ : Channa gachua


ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดที่มีลำตัวสีเทา ครีบหลัง,ครีบหาง และครีบก้นมีสีแดงสด มีความยาวลำตัวไม่เกิน 20 เซนติเมตร 


นิสัย
รับสงบ อดทน สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี 


ถิ่นอาศัย
อาศัยในแม่น้ำ หนองบึง คลอง ลำธารที่อยู่บนภูเขาสูง สามารถอาศัยอยู่บริเวณที่สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 2000 ฟุต 


อาหาร
ลูกปลา ลูกกุ้ง และตัวอ่อนของแมลง







 ปลากา (ปลาเพี้ย) 

ชื่อสามัญ : Greater Black Shark 

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morulius chrysophekadio

ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดขนาดกลาง ลำตัวเรียวยาวแบนข้าง พื้นลำตัวสีม่วงดำหรือน้ำเงินดำ เกล็ดมีขนาดใหญ่คลุมตลอดลำตัวยกเว้นส่วนหัว หัวเรียวแหลม ปากยืดหดได้ ไม่มีฟัน ริมฝีปากบนและล่างเป็นหยัก มีติ่งเนื้อเป็นฝอยสั้น ๆ อยู่รวมกันเป็นกระจุก มีหนวด 2 คู่ ครีบหลังมีขนาดใหญ่และสูงมาก ครีบหู ครีบท้อง และครีบก้น เรียวยาวและมีขนาดไล่เลี่ยกัน ครีบหางยาวเป็นแฉกเว้าลึก ครีบทุกครีบมีสีดำ 


ถิ่นอาศัย
ประเทศไทย แหล่งน้ำที่มีระดับน้ำตื้นๆ และมีพันธุ์ไม้


อาหาร
ตะไคร่น้ำ พืชน้ำขนาดเล็ก แพลงก์ตอน ซากพืชและตัวอ่อนแมลงน้ำ








ปลาตะพัด 

ชื่อสามัญ : Malayan Bonytongue ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scleropages formosus 


ลักษณะทั่วไป
ปลาน้ำจืดโบราณชนิดหนึ่ง ลำตัวยาวประมาณ 1 เมตร น้ำหนักมากกว่า 7 กิโลกรัม ลำตัวแบนด้านข้างส่วนท้องแบนเป็นสันคม เกล็ดมีขนาดใหญ่และหนา เกล็ดบนเส้นข้างตัวมี 21-24 เกล็ด ครีบหลังและครับก้นตั้งอยู่ค่อนไปทางปลายหาง ครีบอกค่อนข้างยาวประมาณหนึ่งในสามของความยาวลำตัว ครีบหางมนกลมปากกว้างมากเฉียงขึ้นด้านบน ที่ตอนปลายขากรรไกรล่างมีหนวดขนาดใหญ่แต่สั้น 1 คู่ 


นิสัย
มีนิสัยก้าวร้าว หวงถิ่น ชอบกัดและทำร้ายปลาชนิดื่นแม้แต่ปลาชนิดเดียวกันจึงไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่น 


ถิ่นอาศัย
ปลาตะพัดมีเขตแพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่ประเทศไทย ไปถึงมาเลเซีย และอินโดนีเซีย พบอาศัยอยู่ในลำธารน้ำไหลเอื่อยๆ ในบริเวณจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด และแม่น้ำลำคลองหลายสายในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และสตูล มักเป็นลำธารที่มีน้ำค่อนข้างขุ่นมีลักษณะเป็นกรดน้อยและท้องน้ำเป็นหินปนทราย 


อาหาร
ปลาขนาดเล็ก กบ เขียด ลูกกุ้งและสัตว์น้ำอื่น ๆ รวมทั้งสัตว์บกขนาดเล็กที่ตกลงไปในน้ำ 


การสืบพันธุ์
ปลาชนิดนี้มีลักษณะการสืบพันธุ์ที่แปลกจากปลาอื่น ๆ โดยวางไข่จำนวนน้อยฟอง แม่ปลาที่มีน้ำหนักตัว3-6 กิโลกรัม จะวางไข่เพียง 40-100 ฟอง ไข่แต่ละฟองมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางกว้างเฉลี่ย 1.72 เซนติเมตร เมื่อวางไข่ออกมาแล้วจะฟักไข่โดยการอมเอาไว้ในปากจนกระทั่งไข่ถูกฟักออกเป็นตัว และจะคอยดูแลลูกปลาหากมีศัตรูเข้ามาใกล้ แม่ปลาจะอ้าปากออกให้ลูกปลาเข้าไปหลบภายในปากหรือ พาหนีไปให้พ้นอันตราย 


สถานภาพ
สัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
 







ปลาตะเพียนขาว (ปลาตะเพี ยน)


ชื่อสามัญ : Common Silver Barb ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barbodes gonionotus 

ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดคู่บ้านคู่เมือง เป็นที่รู้จักดีตั้งแต่สมัยสุโขทัย ลักษณะ ลำตัวอ้วนป้อม หัวเล็กเกล็ดใหญ่ ปากเล็ก ลักษณะที่แตกต่างจากพวกเดียวกันคือมีก้านครีบอ่อนของครีบก้นอยู่ 6 ก้าน ส่วนชนิดอื่นมี 5 ก้าน สีของลำตัวเป็นสีเขียวอมฟ้า ด้านหลังสีน้ำตาลปนเทา ท้องสีขาว เป็นปลาที่ปราดเปรียวว่ายน้ำรวดเร็ว กระโดดได้สูงมาก มีขนาดความยาวประมาณ 8 - 20 เซนติเมตร 


นิสัย
รับสงบ ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงนอกจากเวลาสืบพันธุ์หรือวางไข่ มีความว่องไวปราดเปรียว ชอบหลบซ่อนตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึงที่มีกระแสน้ำไหลอ่อน ๆ หรือน้ำนิ่ง เป็นปลาที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี สามารถนำมาเลี้ยงและเพาะพันธุ์ได้ง่าย 


ถิ่นอาศัย
พบในแหล่งน้ำไหล และน้ำนิ่งในภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 


อาหาร
พืช เมล็ดพืช เมล็ดพืชตระกูลหญ้า สาหร่าย ตะไคร่น้ำ ซากพืชซากสัตว์ แพลงตอน และไรน้ำ 









ปลาตะเพียนทอง 

ชื่อสามัญ : Red-tail Tinfoil Barb ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barbodes altus


ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดขนาดกลางมีความยาวประมาณ 3-8 นิ้ว สีสันสวยงาม ลำตัวป้อมแบนข้าง พื้นลำตัวมีสีเงินหรือทอง หัวและปากค่อนข้างเล็ก มีหนวด 2 คู่อยู่ที่ขากรรไกรบนและล่าง ครีบหลังสูงมีสีเทาและส่วนยอดของครีบสีดำ ครีบหางยาวเป็นแฉกเว้าลึกเป็นสีเหลือง ขอบหางเป็นสีเทาจาง ๆ ครีบท้องและครีบก้นเป็นสีเหลืองส้มสลับแดง 


นิสัย
มีความว่องไวและปราดเปรียว อยู่รวมกันเป็นฝูงหากินและวนเวียนอยู่ตามผิวน้ำ


ถิ่นอาศัย
ประเทศไทย มีอยู่ทั่วไปในน่านน้ำจึด และบางทีก็เข้าไปอาศัยอยู่ในลำคลอง หนองและบึงต่างๆ และมีชุกชุมมากในภาคกลาง ภาคเหนือเรียกว่า ปลาโมงค่า ภาคอีสานเรียกว่า ปลาปาก ภาคใต้เรียกว่าปลาตะเพียนทอง 


อาหาร
พืชน้ำและสาหร่ายขนาดเล็ก









ปลากราย (ปลาหางแพน หรือ ปลาตองกราย) 

ชื่อสามัญ : Spotted Featherback ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chitara ornata 


ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดรูปร่างคล้ายปลาฉลาก ท้องแบน ลำตัวด้านข้างแบนมากสันหลังส่วนต้นสูงชันและค่อย ๆ ลาดลงไปยังส่วนหางคล้ายมีด พื้นที่ลำตัวสีเทาเงิน ลำตัวส่วนบนสีคล้ำกว่าด้านล่าง เกล็ดละเอียด หัวมีขนาดเล็กปลายหัวแหลมมน ปากกว้างสั้นทู่ นัยน์ตาเล็ก มีฟันแหลมคมบนขากรรไกรทั้ง 2 ข้าง ครีบหลังขนาดเล็กปลายมนคล้ายขนนก ครีบท้องยาวเป็นแพรเชื่อมกับครีบหาง เหนือครีบก้นมีจุดดำกลางขนาดใหญ่ล้อมรอบ ด้วยวงแหวนสีขาวเรียบเป็นแถวอยู่ 5 - 10 จุด ลูกปลากรายเมื่อยังเล็กมีแถบสีดำประมาณ 10 -15 แถบพาดขวางลำตัว เมื่อโตขึ้นแถบดำเหล่านี้จะค่อยจางหายไปกลางเป็นจุดขึ้นมา แทนที่ มีขนาดความยาวประมาณ 48 - 85 เซนติเมตร 


นิสัย
ชอบอยู่รวมเป็นฝูงเล็กๆ และหลบพักตามตอไม้ หรือซอกหิน ไม่ชอบแสงสว่างมากจึงมักออกหากินในเวลากลางคืน ชอบผุดขึ้นมาทำเสียงที่ผิวน้ำแล้วม้วนตัวกลับให้เห็นข้างสีเงินขาว 


ถิ่นอาศัย
ประเทศไทย พม่า อินเดีย มาเลเซีย ในไทยพบทั่วไปตามแม่น้ำ ลำคลอง หนองบึง ภาคเหนือเรียกว่า ปลาแพน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า ปลาตองกราย


อาหาร
แมลงน้ำ ลูกกุ้ง ปลาผิวน้ำตัวเล็กๆ









ปลาตองลาย 

ชื่อสามัญ : Blanc's Striped Featherback ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chitara blanci 


ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ อยู่ในตระกูลเดียวกับปลาสลาด ปลากราย และปลาสะตือ ลำตัวเรียวยาวด้านข้างแบนมาก พื้นลำตัวสีขาวเงิน ส่วนหลังมีสีน้ำตาลเข้มอมดำ หรือสีเทาอมเขียว บริเวณส่วนหน้าของลำตัวมีจุดสีดำประปรายอยู่ข้างลำตัว ส่วนท้ายมีขีดสีดำเล็ก ๆ พาดเฉียงจากส่วนบนของลำตัวไปถึงครีบก้นและครีบหาง หัวมีขนาดเล็ก ปากกว้าง เกล็ดมีขนาดเล็กสีขาวเงิน ส่วนหลังของปลาถึงบริเวณหัว มีความลาดชันมาก ครีบหลังมีขนาดเล็ก ครีบก้นเป็นแนวยาวและเชื่อมติดกับครีบหางโดยเฉพาะในปลาตองลายตัวผู้ กล้ามเนื้อบริเวณนี้ มีขนาดใหญ่และหนา ชาวบ้านเรียกว่า เชิงปลา 


ถิ่นอาศัย
แม่น้ำโขงเป็นแหล่งน้ำแหล่งเดียวในโลกที่มีปลาชนิดนี้อาศัยอยู่ 



อาหาร
ปลา ลูกกุ้ง สัตว์น้ำขนาดเล็ก 

















ปลากระทิงไฟ 

ชื่อสามัญ : Fire Spiny Eel 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : 
Mastacembelus erythrotaenia 


ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดที่อยู่สกุลเดียวกับปลากระทิงดำ รูปร่างคล้ายปลาไหล มีขนาดความยาวประมาณ 20 - 70 เซนติเมตร ลำตัวเรียวยาว และแบนข้าง มีจะงอยปากเป็นติ่งเล็กยื่นออกมาทำหน้าที่รับความรู้สึก พื้นลำตัวสีน้ำตาลเข้ม ข้างลำตัวมีเส้นหรือจุดสีแดงขนาดใหญ่และเล็กเรียงตามความยาวลำตัวบริเวณนัยน์ตาจนถึงโคนครีบหาง ครีบหางและครีบก้นเชื่อมติดกันถึงครีบหลังตอนท้าย ครีบทั้งหมดมีสีแดงสด บริเวณขอบครีบหนังเป็นกระดูกแหลมแข็งสำหรับป้องกันตัวจากศัตรู ครีบหูมีสีดำขอบแดง ลักษณะทางอนุกรมวิธานที่แตกต่างจากปลากระทิงชนิดอื่นคือ ปลากระทิงไฟไม่มีกระดูกที่เป็นหนามแหลมอยู่บริเวณหน้า นัยน์ตา ปลากระทิงไฟที่พบในภาคกลาง จะมีสีแดงสดใสกว่าแหล่งน้ำอื่น 


ถิ่นอาศัย
ประเทศไทย มีอยู่ในบริเวณน้ำจึดและน้ำกร่อย ในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีน ทางภาคใต้ที่ทะเลน้อย (ทะเลสาบสงขลาตอนใน) แม่น้ำตาปี ชาวใต้เรียกชื่อปลานี้ว่าปลากระทิงลายดอกไม้ 


อาหาร
แมลง ลูกกุ้ง ลูกกบ และปลาขนาดเล็ก 











ปลากระแหทอง (ปลากระแห หรือ ปลาตะเพียนหางแดง) 

ชื่อสามัญ : Schwanenfeld's Tinfoil Barb
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barbodes schwanenfeldi 


ลักษณะทั่วไป

เป็นปลาน้ำจืดที่มีรูปร่างป้อมสั้น ลำตัวแบนข้าง หัวเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ นัตย์ตาเล็ก ปากเล็กและอยู่ปลายสุด หนวดเล็กและสั้นมี 2 คู่ เกล็ดมีขนาดใหญ่ ครีบกระโดงหลังสูง และกว้างมีสีแดง ลำตัวเป็นสีขาวเงินและสีเหลืองปนส้ม ด้านหลังสีเทาปนเขียว แก้มสีเหลืองปนแดง ขนาดของลำตัวความยาว 15 - 35 เซนติเมตร 

นิสัย
รักสงบ อยู่รวมกันเป็นฝูง ปราดเปรียว ว่องไว ไม่อยู่นิ่งชอบว่ายน้ำตลอดเวลา 


ถิ่นอาศัย

พบทุกภาคในประเทศไทย ทำให้มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป 

อาหาร

พืชพันธุ์ไม้น้ำ ตัวอ่อนแมลงน้ำ ซากสัตว์และพืชที่เน่าเปื่อย




ปลากระโห้ 

ชื่อสามัญ : Siamese Giant Carp
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Catlocarpio siamensis


ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดชนิดมีเกล็ดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง เป็นปลาน้ำจืดจำพวก ปลาตะเพียน ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ลำตัวค่อนข้างป้อมแบนข้าง พื้นลำตัวสีเทาแซมชมพู สันหลังเป็นสีน้ำตาลอมดำ ด้านข้างและส่วนท้องมีสีจางกว่า ลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้คือ มีหัวยาวและใหญ่ผิดปกติ หัวมีผิวเรียบมัน ไม่มีเกล็ดคลุม ความยาวของหัวประมาณ 1ใน3 ของลำตัว ตาโตและยื่นโปน ริมฝีปากล่างหนาและยื่นออกมาพ้นริมฝีปากด้านบน ปากกว้างขากรรไกรยาวถึงบริเวณตา มีฟันที่คอหอยเป็นแถวอยู่ข้างละแถว ไม่มีหนวด เกล็ดมีขนาดใหญ่ขอบเรียบ ครีบหลังสูงและอยู่ตรงกับครีบท้อง ครีบก้นค่อนข้างยาว ครีบหางเป็นแถบเว้าลึก ครีบทุกอันมีสีแดงปนส้ม ปลาตัวผู้มีลำตัวเล็กและเรียว ส่วนท้องแบบเรียบสีดำคล้ำกว่าตัวเมีย 


นิสัย
มีนิสัยรักสงบ ตื่นตกใจง่าย ชอบอยู่รวมเป็นฝูงในแหล่งน้ำลึก แข็งแรงและอดทน 


ถิ่นอาศัย
ประเทศไทย เคยมีอยู่ชุกชุมในลุ่มแม่นํ้า แม่กลอง เจ้าพระยาจนถึงบอระเพ็ดในปัจจุบันมีปริมาณน้อยลงมาก แต่ก็ยังมีปรากฏให้พบเห็นอยู่บ้างในลำนํ้าโขง ชาวบ้านแถบนั้นเรียกว่า ปลากะมัน หรือ หัวมัน 


อาหาร
แพลงก์ตอน พืชนํ้า 





ลากระสูบขีด 

ชื่อสามัญ : Transverse-bar Barb
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hampala macrolepidota 


ลักษณะทั่วไป
อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน ลำตัวค่อนข้างยาว ด้านข้างแบนท้องกลมมน จะงอยปากแหลมปากกว้างและเอียงขึ้นเล็กน้อย มีหนวดที่มุมปาก 1 คู่ ครีบหลังอยู่ตรงข้ามกับครีบท้อง เกล็ดใหญ่ สีของตัวจะเป็นสีขาวเงิน มีลายดำพาดขวางลำตัว หางสีแดงสด ครีบสีแดงหรือสีส้ม มีขนาด 20-50 เซนติเมตร 


นิสัย
ว่องไวปราดเปรียวและตื่นตกใจง่าย โดยทั่วไปมีนิสัยก้าวร้าวไม่เหมาะที่จะนำมาเลี้ยงรวมกับชนิดอื่นเพราะแม้แต่พวกเดียวกันเอง ถ้ามีขนาดแตกต่างกัน หากนำมาเลี้ยงรวมกันจะกัดกันเอง
ถิ่นอาศัย
พบในแม่น้ำ ลำคลองทั่วไปทุกภาคของไทย 


อาหาร
ลูกปลาขนาดเล็กเป็นอาหาร 


การสืบพันธุ์
ไม่ปรากฏในรายงาน 





 (ปลาหางแพน หรือ ปลาตองกราย) 

ชื่อสามัญ : Spotted Featherback
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chitara ornata 


ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดรูปร่างคล้ายปลาฉลาก ท้องแบน ลำตัวด้านข้างแบนมากสันหลังส่วนต้นสูงชันและค่อย ๆ ลาดลงไปยังส่วนหางคล้ายมีด พื้นที่ลำตัวสีเทาเงิน ลำตัวส่วนบนสีคล้ำกว่าด้านล่าง เกล็ดละเอียด หัวมีขนาดเล็กปลายหัวแหลมมน ปากกว้างสั้นทู่ นัยน์ตาเล็ก มีฟันแหลมคมบนขากรรไกรทั้ง 2 ข้าง ครีบหลังขนาดเล็กปลายมนคล้ายขนนก ครีบท้องยาวเป็นแพรเชื่อมกับครีบหาง เหนือครีบก้นมีจุดดำกลางขนาดใหญ่ล้อมรอบ ด้วยวงแหวนสีขาวเรียบเป็นแถวอยู่ 5 - 10 จุด ลูกปลากรายเมื่อยังเล็กมีแถบสีดำประมาณ 10 -15 แถบพาดขวางลำตัว เมื่อโตขึ้นแถบดำเหล่านี้จะค่อยจางหายไปกลางเป็นจุดขึ้นมา แทนที่ มีขนาดความยาวประมาณ 48 - 85 เซนติเมตร 


นิสัย
ชอบอยู่รวมเป็นฝูงเล็กๆ และหลบพักตามตอไม้ หรือซอกหิน ไม่ชอบแสงสว่างมากจึงมักออกหากินในเวลากลางคืน ชอบผุดขึ้นมาทำเสียงที่ผิวน้ำแล้วม้วนตัวกลับให้เห็นข้างสีเงินขาว 


ถิ่นอาศัย
ประเทศไทย พม่า อินเดีย มาเลเซีย ในไทยพบทั่วไปตามแม่น้ำ ลำคลอง หนองบึง ภาคเหนือเรียกว่า ปลาแพน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า ปลาตองกราย


อาหาร
แมลงน้ำ ลูกกุ้ง ปลาผิวน้ำตัวเล็กๆ





ปลาก้าง 
ชื่อสามัญ : Red-tailed Snakehead
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Channa gachua


ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดที่มีลำตัวสีเทา ครีบหลัง,ครีบหาง และครีบก้นมีสีแดงสด มีความยาวลำตัวไม่เกิน 20 เซนติเมตร 


นิสัย
รับสงบ อดทน สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี 


ถิ่นอาศัย
อาศัยในแม่น้ำ หนองบึง คลอง ลำธารที่อยู่บนภูเขาสูง สามารถอาศัยอยู่บริเวณที่สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 2000 ฟุต 


อาหาร
ลูกปลา ลูกกุ้ง และตัวอ่อนของแมลง







 ปลากา (ปลาเพี้ย) 

ชื่อสามัญ : Greater Black Shark 

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morulius chrysophekadio

ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดขนาดกลาง ลำตัวเรียวยาวแบนข้าง พื้นลำตัวสีม่วงดำหรือน้ำเงินดำ เกล็ดมีขนาดใหญ่คลุมตลอดลำตัวยกเว้นส่วนหัว หัวเรียวแหลม ปากยืดหดได้ ไม่มีฟัน ริมฝีปากบนและล่างเป็นหยัก มีติ่งเนื้อเป็นฝอยสั้น ๆ อยู่รวมกันเป็นกระจุก มีหนวด 2 คู่ ครีบหลังมีขนาดใหญ่และสูงมาก ครีบหู ครีบท้อง และครีบก้น เรียวยาวและมีขนาดไล่เลี่ยกัน ครีบหางยาวเป็นแฉกเว้าลึก ครีบทุกครีบมีสีดำ 


ถิ่นอาศัย
ประเทศไทย แหล่งน้ำที่มีระดับน้ำตื้นๆ และมีพันธุ์ไม้


อาหาร
ตะไคร่น้ำ พืชน้ำขนาดเล็ก แพลงก์ตอน ซากพืชและตัวอ่อนแมลงน้ำ








ปลาตะพัด 

ชื่อสามัญ : Malayan Bonytongue ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scleropages formosus 


ลักษณะทั่วไป
ปลาน้ำจืดโบราณชนิดหนึ่ง ลำตัวยาวประมาณ 1 เมตร น้ำหนักมากกว่า 7 กิโลกรัม ลำตัวแบนด้านข้างส่วนท้องแบนเป็นสันคม เกล็ดมีขนาดใหญ่และหนา เกล็ดบนเส้นข้างตัวมี 21-24 เกล็ด ครีบหลังและครับก้นตั้งอยู่ค่อนไปทางปลายหาง ครีบอกค่อนข้างยาวประมาณหนึ่งในสามของความยาวลำตัว ครีบหางมนกลมปากกว้างมากเฉียงขึ้นด้านบน ที่ตอนปลายขากรรไกรล่างมีหนวดขนาดใหญ่แต่สั้น 1 คู่ 


นิสัย
มีนิสัยก้าวร้าว หวงถิ่น ชอบกัดและทำร้ายปลาชนิดื่นแม้แต่ปลาชนิดเดียวกันจึงไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่น 


ถิ่นอาศัย
ปลาตะพัดมีเขตแพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่ประเทศไทย ไปถึงมาเลเซีย และอินโดนีเซีย พบอาศัยอยู่ในลำธารน้ำไหลเอื่อยๆ ในบริเวณจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด และแม่น้ำลำคลองหลายสายในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และสตูล มักเป็นลำธารที่มีน้ำค่อนข้างขุ่นมีลักษณะเป็นกรดน้อยและท้องน้ำเป็นหินปนทราย 


อาหาร
ปลาขนาดเล็ก กบ เขียด ลูกกุ้งและสัตว์น้ำอื่น ๆ รวมทั้งสัตว์บกขนาดเล็กที่ตกลงไปในน้ำ 


การสืบพันธุ์
ปลาชนิดนี้มีลักษณะการสืบพันธุ์ที่แปลกจากปลาอื่น ๆ โดยวางไข่จำนวนน้อยฟอง แม่ปลาที่มีน้ำหนักตัว3-6 กิโลกรัม จะวางไข่เพียง 40-100 ฟอง ไข่แต่ละฟองมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางกว้างเฉลี่ย 1.72 เซนติเมตร เมื่อวางไข่ออกมาแล้วจะฟักไข่โดยการอมเอาไว้ในปากจนกระทั่งไข่ถูกฟักออกเป็นตัว และจะคอยดูแลลูกปลาหากมีศัตรูเข้ามาใกล้ แม่ปลาจะอ้าปากออกให้ลูกปลาเข้าไปหลบภายในปากหรือ พาหนีไปให้พ้นอันตราย 


สถานภาพ
สัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
 







ปลาตะเพียนขาว (ปลาตะเพี ยน)


ชื่อสามัญ : Common Silver Barb
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barbodes gonionotus 


ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดคู่บ้านคู่เมือง เป็นที่รู้จักดีตั้งแต่สมัยสุโขทัย ลักษณะ ลำตัวอ้วนป้อม หัวเล็กเกล็ดใหญ่ ปากเล็ก ลักษณะที่แตกต่างจากพวกเดียวกันคือมีก้านครีบอ่อนของครีบก้นอยู่ 6 ก้าน ส่วนชนิดอื่นมี 5 ก้าน สีของลำตัวเป็นสีเขียวอมฟ้า ด้านหลังสีน้ำตาลปนเทา ท้องสีขาว เป็นปลาที่ปราดเปรียวว่ายน้ำรวดเร็ว กระโดดได้สูงมาก มีขนาดความยาวประมาณ 8 - 20 เซนติเมตร 


นิสัย
รับสงบ ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงนอกจากเวลาสืบพันธุ์หรือวางไข่ มีความว่องไวปราดเปรียว ชอบหลบซ่อนตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึงที่มีกระแสน้ำไหลอ่อน ๆ หรือน้ำนิ่ง เป็นปลาที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี สามารถนำมาเลี้ยงและเพาะพันธุ์ได้ง่าย 


ถิ่นอาศัย
พบในแหล่งน้ำไหล และน้ำนิ่งในภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 


อาหาร
พืช เมล็ดพืช เมล็ดพืชตระกูลหญ้า สาหร่าย ตะไคร่น้ำ ซากพืชซากสัตว์ แพลงตอน และไรน้ำ 









ปลาตะเพียนทอง 

ชื่อสามัญ : Red-tail Tinfoil Barb
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barbodes altus


ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดขนาดกลางมีความยาวประมาณ 3-8 นิ้ว สีสันสวยงาม ลำตัวป้อมแบนข้าง พื้นลำตัวมีสีเงินหรือทอง หัวและปากค่อนข้างเล็ก มีหนวด 2 คู่อยู่ที่ขากรรไกรบนและล่าง ครีบหลังสูงมีสีเทาและส่วนยอดของครีบสีดำ ครีบหางยาวเป็นแฉกเว้าลึกเป็นสีเหลือง ขอบหางเป็นสีเทาจาง ๆ ครีบท้องและครีบก้นเป็นสีเหลืองส้มสลับแดง 


นิสัย
มีความว่องไวและปราดเปรียว อยู่รวมกันเป็นฝูงหากินและวนเวียนอยู่ตามผิวน้ำ


ถิ่นอาศัย
ประเทศไทย มีอยู่ทั่วไปในน่านน้ำจึด และบางทีก็เข้าไปอาศัยอยู่ในลำคลอง หนองและบึงต่างๆ และมีชุกชุมมากในภาคกลาง ภาคเหนือเรียกว่า ปลาโมงค่า ภาคอีสานเรียกว่า ปลาปาก ภาคใต้เรียกว่าปลาตะเพียนทอง 


อาหาร
พืชน้ำและสาหร่ายขนาดเล็ก